รู้ ธรรมะ ทั้งหมด ไป ทำ ประโยชน์ อะไร



ภิกษุรูปหนึ่งยังบวชแม้ชื่อก็ไม่มีใครรู้จักเกิดเจ็บป่วยขึ้น พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงเสด็จไปเยี่ยม ธรรมดาที่ภิกษุใหม่จะคิดถึงเรื่องการรักษาศึลเป็นเรื่องสำคัญ ในเรี่องสั้นตอนนี้น่าสนใจตรงที่การรักษาศีล 227 ข้อหรือรักษาศีล 150 ข้อที่เป็นข่าวไม่นานมานี้ว่าใครถูกผิดจนอาจลืมไปว่ารักษาศีลเพื่ออะไร เรี่องนี้อาจตอบได้เพราะพระพุทธเจ้าได้ถามตรงๆว่าธรรมะที่พระพุทธองค์สั่งสอนไปเพื่อประโยชน์อะไร


พระภิกษุรูปนี้ป่วยมากอยู่เมื่อพระพุทธเจ้าถามว่าเจ็บป่วยเป็นอย่างไร ทุเลาบ้างไหมก็ตอบว่าเป็นหนักไม่ทุเลาลง ซึ่งธรรมดาภิกษุใหม่พยายามรักษาศีลให้หมดจดเวลาป่วยหนักก็ยากจะรักษาไว้ได้ มีความรังเกียจ เดือดร้อนอยู่ว่ายังไม่รู้ทั่วถึงธรรมมะที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ทั้งหมดเพื่อจะได้รักษาศีลให้บริสุทธิ์ไว้ 

พระพุทธเจ้าถามว่ายังรักษาศีลไว้ได้ดีหรือไม่แม้เจ็บป่วยมากก็ตอบว่ายังรักษาได้ดีอยู่ ไม่ได้ต้องติเตียนตนเอง พระพุทธเจ้าเลยถามว่าจะรู้ธรรมะทั้งหมดไปเพื่อประโยชน์อะไร ภิกษุก็ตอบว่าเพื่อคลายจากราคะ พระพุทธเจ้าก็บอกว่าดีแล้วๆ ถูกต้องแล้ว ธรรมะที่แสดงทั้งหลายก็เพื่อมุ่งหมายให้ละราคะนี้
 

ตรงนี้สำคัญที่พระพุทธองค์แสดงให้เห็นว่าการรู้ธรรมะทั้งหลายไม่ใช่เพื่อการรักษาศีล แต่เพื่อประโยชน์ในการละจากราคะเป็นหลัก แม้รูปที่ตาเห็นเสียงที่หูได้ยินจนกระทั่งไปใจที่มีอารมณ์มากระทบก็ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่ควรยึดถือเอาไว้เป็นตัวเป็นตน แล้วก็ควรจะเบื่อจะหลุดพ้นจากราคะตรงนี้
 

พอได้ฟังพระพุทธเจ้าสอนจบภิกษุรูปนี้ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมว่าทุกสิ่งทีเกิดขึ้นเป็นธรรมดาต้องมีดับเป็นธรรมดา
เราทั้งหลายก็คงมีบ้างครั้งที่เป็นเหมือนภิกษุใหม่รูปนี้ที่บ้างทีก็ลืมไปเหมือนกันว่าการรักษาศีล การเรียนรู้ธรรมมะที่พระพุทธองค์แสดงไว้นั้นไม่เพื่อประโยชน์อื่นได้ที่นอกจากพ้นทุกข์ และสิ่งที่ต้องตั้งความเพียรปฎิบัติไปอย่างสม่ำเสมอคือเห็นตามจริง ความไม่เที่ยง ความไม่เป็นตัวตนที่กายที่ใจนี้ และสักวันคงจะเบื่อมากเข้าก็จะละไป

ในพระไตรปิฎกมีคำสอนที่ง่ายและยาก บ้างคำสอนมีรายละเอียดมากแบ่งเป็นขั้นเป็นตอนจนอาจเข้าใจผิดว่าต้องผ่านทุกขั้นตอนเหล่านั้นเสียก่อนจึงจะรู้แจ้งในที่สุด ผู้เขียนเองหลังจากอ่านพระสูตรเรื่องง่ายๆสั้นๆแล้วก็ยังพบว่าลึกซึ้งแต่ชี้ตรงไปที่การดับทุกข์ได้เป็นอย่างดี เพียงลองเริ่มปฎิบัติเท่านั้นก็จะพอจับทิศทางที่จะมองเห็นตามความเป็นจริงของกายกับใจนี้ ลองสังเกตดูเมื่ออ่านในพระไตรปิฎกจะพบว่าการบรรลุมรรคผลนั้นก็มีประสพการณ์แตกต่างกันไม่ได้มีบอกว่าต้องผ่านขั้นตอนต่างๆมากนัก เพียงแต่ต้องปฎิบัติกับกายนี้ใจให้เห็นจริวอย่างสม่ำเสมอ แล้วบางวินาทีทีปฎิบัตินั้นก็อาจเป็นครั้งสุดท้ายที่รู้จักว่าทุกข์หรือความเป็นธรรมดานั้นมีน้ำหนักไม่แตกต่างกันเลย
จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=18&A=1027





@นั่งเก้าอี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น