ตัณหา ปัจจัย อุปทาน แต่ กำหนด ที่ ผัสสะ



เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์  ละที่เหตุปัจจัยทุกข์ก็ดับ ถ้าบอกว่าผิดละ จะเชื่อไหม? ถ้าเชื่อแล้วการมานั่งกำหนดลมหายใจ เดินจงกรม จะไปดับที่ทุกข์ได้อย่างไร? 

ปฎิจสมุปบาทที่ชาวพุทธรู้จักกันโดยมากเริ่มจาก อวิชชา -> สังขาร-> วิญญาน ->นามรูป  ->อายตนะ6   ->ผัสสะ -> เวทนา -> ตัณหา ->อุปทาน ->ภพ ->ชาติ ->ชรา ->มรณะ โสกะปริเทวะ

ชาติหรือการเกิดเป็นทุกข์ มาจากปัจจัยคือภพ ปัจจัยทีทำให้เกิดภพคืออุปทาน ที่สำนึกว่ามีตัวมีตนโดยไม่เห็นความเป็นอนัตตา ของกายและใจนี้ การคิดนึกตรงไปตรงมาก็คือว่าถ้าตั้งใจละ อุปทานก็ไปดูที่ปัจจัยคือตัณหาแล้วละที่ตัณหา ถ้าผู้เขียนไม่อ้างอิงจากพระไตรปิฎกใครพูดใครบอกอย่างนี้ก็น่าเชื่อถือดีเพราะสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลกันเมื่อกำจัดเหตุ สิ่งที่เป็นผลก็ไม่เกิด

แต่พระสูตรนี้พระพุทธเจ้าสอนภิกษุทั้งหลายว่าการกำหนดรู้อุปทาน ต้องเห็นผัสสะเห็นเวทนา จึงเป็นการกำหนดรู้อุปทาน เพราะเห็นเรื่องจริงอย่างนี้ก็เบื่อก็คลายกำหนัด หลุดจากกิเลส ทราบชัดอุปทานทั้งปวง
จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=694&Z=710&pagebreak=0

เนื้อหาที่สั้นของพระสูตรนี้แต่ได้ใจความที่ตอบเราได้ดีว่าที่พยายามกำหนดลมหายใจเข้าออก เห็นการเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ของ กายกับใจนี้ก็จะกำหนดรู้อุปทานทั้งหลายได้ ตัวกู ของกูที่ต้องการละก็เป็นเรื่องที่ต้องเริ่มที่ผัสสะ

พระสูตรนี้บอกเรื่องผัสสะไว้ชัดเจนมากเช่นกัน ด้วยตา กับ รูป ก่อให้เกิด การรับรู้การมองเห็นขึ้น และทั้งสามอย่างนี้รวมกันเรียกว่าผัสสะหรือภาษาชาวบ้านจะเรียกการกระทบก็พอเข้าใจได้ ผัสสะสำหรับ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นอย่างเดียวกัน ครบองค์สามก็เป็นผัสสะเกิด วิญญานการรู้การเห็นขึ้น  เมื่อผัสสะถูกเห็นบ่อยๆก็จะเข้าใจไปเองว่าที่เป็นตัวเป็นตนอยู่ผัสสะหมุนเวียนเกิดอยู่ต่อเนื่องเรื่อยๆเป็นนาทีเป็นชั่วโมงเป็นวันเป็นปีเป็นชีวิต ขึ้นมา และถ้าไม่กำหนดเห็นไว้ ผัสสะก็หมุนวนกลับเป็นด้านสังขารการปรุงแต่งก็พาไปด้านดีด้านร้ายต่อไปจนไม่เห็นความจริงที่ว่าเกิดผัสสะครั้งแล้วครั้งเล่า จนเป็นเนื้อเป็นตัวขึ้นมาจาก การไม่มีอะไรเลย

สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนไว้มีมากมายจริงแต่การปฎิบัติแล้วไม่มากเลยเมื่อเริ่มอ่านทำความเข้าใจจากพระไตรปิฎกโดยตรง เรื่องที่สอนทั้งหลายจะลงมาสู่การปฎิบัติที่ผัสสะนี้แหละ ที่มุ่งสู่การเห็นตามความเป็นจริงในปัจจุบันเมื่อเห็นแล้วก็เบื่อหน่าย คลายจางจน หลุดพ้นไปเอง ดังนั้นส่วนที่เพียรทำคือกำหนดรู้ด้วยวิธีการต่างๆที่ครุอาจารย์สอน หรือแม้เรียนจากพระไตรปิฎก หัวใจก็จะยังคงอยู่ที่การเห็น การกำหนด อยู่นั่นเอง เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะหลงทาง หรือเสียเวลา เพียรทำไปทีละเล็กละน้อยทุกเมื่อที่กำหนดได้อย่ายอมแพ้ 




@นั่งเก้าอึ้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น