วิตก ด่าน หิน แรก ของ ผู้ ปฎิบัติ


ใครที่เริ่มนั่งลงตั้งกายตรง ดำรงสติ เฉพาะหน้า เพื่อเริ่มก้าวไปในทางพ้นทุกข์ น่าจะเจอกับด่านแรก หรือ ประตูแรก แทบทุกคน และเป็นด่านที่ต้องผ่านให้ได้เสียก่อน วิตก

วิตก วิจาร หรือ ความตรึก ความตรอง อยู่กับกายใจนี้มาเสมอ เราใช้เป็นประจำเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ใช้ในการศึกษา ใช้ในการตัดสินใจ ใช้เป็นจิตนาการต่างๆ และเป็นเครื่องมือทางจิตที่ถูกใช้ไม่ว่าจะตั้งใจและไม่ตั้งใจ 

เวลานั่งรออะไรสักอย่างคนทั่วไปก็เบื่อ เมื่อคนเบื่อก็จะเริ่มหาอะไรทำ หาอะไรมาคิด บ่อยเข้าจิตก็จะท่องเที่ยวไปเองไปในเรื่องต่างๆ สังเกตดูในรถเมล์ รถไฟฟ้าเห็นคนนั่งท่องเที่ยวไปโดยจิตนำไปไม่มีการควบคุม จิตดึงไปเรื่องโลภ โกรธ หลงตลอดเวลา โลกทุกวันนี้จึงเกิดธุรกิจสารพัดอย่างเพื่อให้มนุษย์เพลิดเพลิน ไม่เบื่อ มนุษย์เองจึงเป็นผู้ถนัดในการสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมาเพื่อเติมตัวตนให้เพลิดเพลินในสิ่งต่างๆ 
ด้วยเทคโนโลยี่ที่เพิ่มขึ้นเวลาของบุคคลจึงถูกใช้ไปในเรื่องที่แปลกประหลาดมากมาย เช่นการเพลิดเพลินเล่นเกมทั้งที่ไม่ได้ผลตอบแทนเป็นวัตถุอะไร เวลาใช้ไปเกือบ24 ชั่วโมงเพื่อเอาชนะสิ่งที่ไม่มีตัวตนบ้างทีก็แค่เพลิดเพลิน แต่บางคนก็เอาจริงจังจนกลายเป็นทำลายร่างกาย เวลา ทั้งของตนเองและผู้อื่น 

ทีวี เพลง หนัง บทความ ข่าว มือถือ โลก Internet ที่เป็นอยู่ใช้อยู่อย่างผิดวัตถุประสงค์ ก็อาจจะเป็นอีกอย่างที่เร่งหรือเพิ่ม วิตก วิจาร ให้มนุษย์พ้นไปจากความเบื่อ การพ้นไปจากความความเบื่อนี้บ้างที่ก็เรียกว่าเป็นการพักผ่อน ผ่อนคลาย


วิตก วิจารถูกใช้ทั้งทางที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษ ในทางพุทธศาสนา วิตกวิจารยังคงเป็นสิ่งที่ต้องละเว้น  วิตก วิจาร ปิติ สุข เป็นธรรมที่เจือปนกันอยู่ในปฐมฌาน เมื่อละจาก วิตกวิจารได้ ปิติ กับ สุข ก็จะชัดเจนขึ้น และละต่อไปอีกก็ก้าวสู่ ฌานต่อไปจนถึงที่สุดแห่งทุกข์
ถ้าวิเคราะห์ตามที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎกนี้ ก็จะเห็นว่าความจริงแล้วการพักผ่อน ผ่อนคลาย โดยอาศัย วิตก วิจารยังเป็นไปในทางที่ออกห่างจากวิถีของชาวพุทธที่เดียว คงจะไม่แปลกที่มีศึลหลายข้อที่ไม่ให้พระเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เป็นไปให้วิตกวิจารแข็งแรงขึ้น


คงจะมีคนค้านว่าถ้าทำบ่อยๆไม่ใช้วิตกวิจารบ่อยๆคงจะโง่เหมือนไม่ใช้ความคิดในการพิจารณาสิ่งต่างๆ คงจะเป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ด้วยตัวเองพบเอง ความเห็นของผู้เขียน การมองเห็นวิตก วิจาร ทุกครั้งที่นั่งลงปฎิบัติก็ไม่รู้สึกว่าวิตก วิจารลดน้อยลง แต่เห็นได้ง่ายขึ้น ละเว้นไม่ติดตามไปต่อได้ง่ายขึ้น และกับเห็นได้ว่าแท้จริงความเบื่อเองก็เป็นส่วนหนึ่งของ วิตกวิจารเหมือนกัน พอละได้ก็ไม่เบื่อ นี้คือความมหัศจรรยที่พระพุทธองค์ชึ้ทางไว้ครั้งแล้วครั้งเล่าในทุกโอกาศ
จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=4099&Z=4207

พระสูตรนี้สั้นอ่านง่ายบอกขั้นตอน 5 ขั้นจากการเริ่มชลอกำลังของวิตก ตามลำดับ จนถึงบังคับ
  • ด้วยการมนสิการนิมิตที่เป็นกุศลเพื่อให้วิตกทั้งหลายอัน เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง เสื่อมไป
  • ด้วยการพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตก เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นโทษ
  • ด้วยความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น 
  • ด้วยมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้น เมื่มนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้
  • ด้วยการกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับ จิตด้วยจิต เมื่อเธอ กัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศลประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้

เรื่องนี้น่าสนใจตรงที่ไม่บ่อยที่จะพบคำสอนว่าละวางไม่ได้ผลก็ให้ใช้วิธีบังคับเอาให้ได้ แปลว่าต้องผ่านด่านแรกนี้ให้ได้

ถ้าจะพบคำว่าความสุขแบบที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ก็ต้องพยายามกัน


@นั่งเก้าอี้








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น