เมื่อภิกษุรูปหนึ่งต้องการปลีกตัวไปคนเดียวเพื่อแสวงธรรม
ได้มาขอคำสอนสั้นๆไว้เตือนใจก่อนจะลาจากพระพุทธเจ้าไป
คำสอนที่พระพุทธองค์ให้ไว้เตือนใจก็จะเน้นไปที่การไม่พัวพันกับสิ่งเร้าต่างๆที่มากระทบทางตา
หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ โดยพิจารณาความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวตน
ไม่ใช่ของเราทั้งหมดทั้งกายและใจ
สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนครั้งแล้วครั้งเล่าให้กับภิกษุทั้งหลายในแง่การปฎิบัติก็จะพิจารณาอยู่กายกับใจนี้ไม่ได้ไปไกลนอกตัว
แม้แต่การระวังตนเมื่อไปในที่ต่างๆก็ทรงเน้นให้ระวังสำรวมในกายกับใจนี้
แต่ต้องเพียรกระทำสม่ำเสมอต่อเนื่องซึ่งเป็นความยากที่จะเพียรทำอยู่
ดังนั้นแม้ว่าพระไตรปิฎกจะมีคำสอนมากมายแต่สุดท้ายแล้วการปฎิบัติก็ลงมารวมที่จุดนี้
ข้อสังเกตอีกอย่างพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้ยึดที่ศีลเป็นข้อปฎิบัติ
แต่ให้เพียรพิจารณาการมากระทบที่กายกับใจซึ่งเป็นต้นตอก่อนที่จะผิดศีล
ลองพิจารณาในแง่นี้ดูบ้างว่าภิกษุรูปนี้ตั้งใจจะปลีกตัวไปคนเดียวไปสู่ในถิ่นคนดุร้ายอาจไม่ได้กลับมาและก็คงตั้งใจจะไม่กลับมาแล้ว
พระพุทธองค์ก็ทรงทราบดีว่าอันตรายอยู่อาจไม่ได้พบกันอีก
สิ่งที่พระองค์เมตตาสั่งสอนจะต้องสำคัญเหมาะกับภิกษุรูปนั้นเพราะคงเป็นครั้งสุดท้ายที่เจอกัน
เนื้อความที่สั่งสอนนี้จึงจะต้องสำคัญแน่
พระสูตรนี้มีข้อคิดที่น่าสนใจอีกอย่างคือความดุร้ายของถิ่นนั้นแม้พระพุทธองค์ถามว่าถ้าเขาด่าเธอจะคิดอย่างไร
ภิกษุก็ตอบว่าด่าไม่ตีด้วยมือก็ดี แล้วถ้าตีด้วยมือ ภิกษุก็ตอบว่าไม่ทำร้ายด้วยก้อนดินก็ดี
แล้วถ้าทำร้ายด้วยก้อนดิน ภิกษุก็ตอบว่าไม่ทำร้ายด้วยท่อนไม่ก็ดี จนกระทั่งถ้าถูกฆ่าให้ตายด้วยอาวุธก็ถือว่าดีเพราะมีภิกษุหลายรูปในตอนนั้นที่เบื่อหน่ายรังเกียจชีวิตร่างกายอยู่แล้วมีคนมาฆ่าให้ก็ดี
พระพุทธเจ้าเลยบอกว่าเธอมีการฝึกตนมีการข่มใจให้สงบดีถ้าคิดแบบนี้ก็ไปอยู่ในถิ่นคนดุร้ายเหล่านั้นได้
ภิกษุรูปนั้นไม่เพียงไปอยู่แต่ยังทำให้มีสาวกเพิ่มอีก
500 คน แล้วสำเร็จมรรคผลปรินิพพานไป ไม่ได้กลับมาพบพระพุทธเจ้าอีก
ตัวอย่างที่ดีของเรื่องนี้ก็คือการอดทนข่มใจ
ต่อสิ่งแวดล้อมที่มากระทบและถ้าพิจารณาตามคำสอนแล้วการฝึกตนแบบนี้เพียรกระวังตนแบบนี้แม้ไปคนเดียวไม่มีพระพุทธเจ้าอยู่ด้วยก็จะไม่ห่างจากธรรมเลย
จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=1444&Z=1548&pagebreak=0 |
@นั่งเก้าอี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น