อาฆาต ผู้อื่น ทำลาย ตัวเอง


การมีความขัดเคือง ไม่พอใจ เป็นเหตุให้มึความโกรธ มีความโกรธ แล้วก็โทสะ พยาบาท ผูกใจเจ็บ แล้วก็อาฆาตมุ่งตอบแทนเอาคืนในทางอกุศลต่อไป นึกถึงการมีคำศัพธ์ในอารมณ์ต่างๆเหล่านี้ก็มีความเคารพนับถือผู้ที่บัญญัติศัพธ์ต่างๆเพราะมีความละเอียดอ่อนเข้าใจในความเป็นไปของความโกรธได้ดีเยี่ยมแจกแจงออกมาเป็นเหตุเป็นผลกัน 

เริ่มต้นจากความขัดเคืองไม่พอใจก็มีเหตุเหมือนกันจากการยึดไว้ว่าเรื่องต่างๆที่ตนเองทำอยู่มุ่งหวังอยู่จะต้องเป็นไปตามที่วางแผนไว้แล้วก็ยึดไว้ว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เพราะโลภอยากได้สิ่งต่างๆตามต้องการ ทิฐฐิในตัวเอง ความพยายาม ความเพียรท้้งหลายก็ไปในทางที่อยากได้อยากมี ก็เป็นไปผิดจากสัมมาทิฐฐิ เป็นไปต่อเนื่องหมุนเวียน หาจุดจบยาก บ้างทีก็ยิ่งยึดมั่นหนักไปอีกว่าเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งที่มีความเพียรมาเกี่ยวข้องแม้เป็นความเพียรในทางที่ผิดก็ยังหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง

ผลของการหาจุดตั้งต้นจุดจบไม่ลงนี้ก็เกิดคำถามขึ้นมากมายว่าที่ถูกที่ควรจะเป็นอย่างไร สุดท้ายเมื่อหาคำตอบให้กับตัวเองไม่ได้หรือมีคำตอบแต่ก็ไม่มั่นใจ ศรัทธาในสิ่งที่ตนเองตั้งขึ้นก็ไม่มั่นคงแก้ทุกข์ไม่ได้ 

ที่นี้เมื่อมีทุกข์แล้วอามาตแล้วก็ทำอย่างไรจะระงับได้ พระสูตรอย่างสั้นที่นำมานี้บอกไว้หลายวิธี
จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=4329&Z=4341
 [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาตซึ่งเกิดขึ้นแก่
ภิกษุโดยประการทั้งปวง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความอาฆาต
พึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้น
ในบุคคลใด พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด
พึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงถึงการ
ไม่นึกไม่ใฝ่ใจในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงนึกถึงความ
เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตนให้มั่นในบุคคลนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็น
ของๆ ตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นทายาท (ผู้รับผล) ของ
กรรมนั้น ดังนี้ ๑ ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นด้วยประการฉะนี้ ฯ

วิธีการเพื่อระงับอาฆาตเมื่อเกิดแล้วพิจารณาดูแล้วก็ยังเป็นเรื่องยากอยู่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ฝึกเจริญเมตตากรุณา หรือ พิจารณาเรื่องกรรมอยู่เป็นประจำ และเมื่อเหตุการณ์ปกติอยู่ไม่ได้เตรียมตัวในการละวางตัวตนลงบ้าง ละวางสิ่งมุ่งหวังต่างๆลงบ้าง ตั้งความเพียรในเรื่องการละการวาง ตั้งความเพียรในเรื่องการเจริญสติ ทำงานไปตามหน้าที่ด้วยสติ มากกว่าจะเพียรพยายามเพื่อหวังผลโดยกิเลสความโลภเป็นตัวนำหน้าก็คงพอจะทุเลา ความยึดถือและเมื่อเผชิญความไม่แน่นอนต่างๆก็พอจะลดความขัดเคืองลง ไม่นำไปจนไปถึงเรื่องพยาบาทอาฆาตกันต่อไป

พระพุทธเจ้าได้แจกแจงตามเหตุและผลของสิ่งต่างๆนี้ไว้ชัดเจนมาก ที่จริงแล้วตรงไปตรงมาจนบ้างทีเราเองก็รับไม่ได้ไม่กล้าปฎิบัติตาม แต่ทางเลือกก็มีไม่มากนักถ้าจะพ้นทุกข์



@นั่งเก้าอี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น