“เธอถูกมาตุคามนั่งทับ
นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่พัวพัน ปลดเปลื้อง หลีกออกได้ แล้วหลีกไปตามความประสงค์” ข้อความเปรียบเทียบการเป็นนักรบธรรมที่ต้องเผชิญศึกเอาชนะกาม
โดยเทียบกับนักรบอาชีพในสมัยนั้นที่ต้องออกรบด้วยหอกดาบ การเอาชนะขวัญกำลังใจของข้าศึกในเบื้องต้นด้วย
การทำให้ข้าศึกเห็นสัมผัสด้วยอายตนะความเข้มแข็งยิ่งใหญ่หรือความโหดเหี้ยมของฝ่ายตรงข้ามคงเป็นยุทธวิธีหนึ่งก่อนจะรบกันจริง
ใครที่เรียนหรืออ่านเล่ห์ในการศึกก็คงเข้าใจในเรื่องนี้ดี
พระสูตรนี้ทำให้เข้าใจว่าบ้านเมืองสมัยนั้นก็ไม่ได้สงบสุขนักยังมีการรบการสงครามกันอยู่
ไม่แตกต่างจากสมัยนี้แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้ากำลังชี้ทางสว่างพ้นทุกข์แก่ชาวโลก
แตกต่างจากสมัยนี้คงเป็นเพียงวิธีการต่อสู้และอาวุธที่ใช้
ผู้เขียนอ่านและจินตนาการเอาเองว่าในสมัยโบราณ
เมื่อสองทัพใหญ่มาใกล้กันการมองเห็นจำนวนของคู่ศึกคงจะดูได้จากฝุ่นฟุ้งขึ้นไกลในขณะเดินทัพ
ฝุ่นมากก็คงแปลว่ามีจำนวนมาก พวกที่มีน้อยกว่าก็คงจะเสียขวัญกันบ้าง
นักรบสมัยก่อนใช้อาวุธแค่หอกดาบ
เอาชนะได้หนึ่งต่อสองต่อสามคงเป็นเรื่องยากจำนวนของข้าศึกจึงจะเป็นประเด็นสำคัญทีเดียว
นักรบอาชีพประเภพแรก
แค่เห็นฝุ่นก็ไม่คิดจะสู้เหมือนภิกษุที่แค่ได้ยินข่าวว่ามีสาวงามที่ใดก็อยากไปเห็นไปดูอยากสึกแล้วทั้งที่ยังไม่เห็นข้าศึกหรือสาวงามที่ว่าเลย
การเห็นธงของข้าศึกแล้วเกรงกลัว
อาจจะไม่เพียงแต่เห็นจำนวนธงที่มากกว่าแต่ยังคงบ่งบอกว่ากำลังจะสู้ศึกกับใคร
ธรรมดาชื่อเสียงของกองทัพหนึ่งอาจมาจากความโหดเหี้ยม เข้มแข็ง ความรุนแรงของการรบ
หรือประวัติการเอาชนะได้บ่อยครั้งของกองทัพนั้นคงไม่ต่างจากสถิติการรบ
แต่ในสมัยโบราณ
นักรบประเภทที่สองนี้แค่เห็นธงรบของข้าศึกก็กลัวแล้วไม่เป็นอันรบเหมือนกัน
เหมือนภิกษุที่คราวนี้เห็นรูปสาวงามเกิดหลงไหลก็ยอมสึกออกมาแล้ว
เมื่อกองทัพเคลื่อนมาใกล้กัน
คราวนี้การมองเห็นในระยะใกล้ก็คงจะเริ่มยืนยันความจริงที่ว่าจำนวนข้าศึกเป็นเท่าใด
เมื่ออยู่ใกล้กันการส่งเสียงอืออึง การสร้างเสียงกึกก้องข่มขวัญคงเป็นเรื่องปกติที่จะใช้ทำลายขวัญของศัตรูแท้จริงการรบแม้ยังไม่เกิดแต่การข่มขวัญทำให้ยอมแพ้ก็ช่วยให้ไม่ต้องรบให้เปลืองกำลังผู้คนได้
นักรบประเภทนี้ที่อยู่ในกองทัพมาจนถึงจะทำศึกกันแล้วพอได้ยินเสียงก็เกิดกลัวไม่คิดสู้
เปรียบกับภิกษุที่พอได้คุย ได้ถูกเร้าด้วยเสียงของหญิงสาวก็แพ้ไป
สุดท้ายเมื่อลงมือทำศึกกันจริงจังคราวนี้จึงจะบอกฝีมือความเข้มแข็งวินัยและกลศึกกัน
นักรบที่ฝึกมาไม่ดีทั้งในทางส่วนตัวและการทำงานเป็นกลมเกลียวก็จะแสดงผลออกมาทำให้พ่ายแพ้ในการศึกได้ง่าย
การรบนี้แม้มีกำลังกล้าหาญแต่เมื่อเอาชนะไม่ได้
ถ้ารอดชีวิตไปก็เรียนรู้กลับมาลองคราวหน้า หรือไม่ก็ตายในที่รบ
กลุ่มนี้เป็นนักรบอาชีพที่ได้เข้าไปสู้จริงแต่แพ้เพราะสู้กับรสสัมผัส
การเข้าเสพจริงๆก็ยอมแล้วสู้ไม่ไหว
สังเกตว่าแม้ถูกกระทำโดยการถูกข่มขืนแล้วเกิดฝักไฝ่เข้าไปก็ถือว่าแพ้
นักรบอาชีพที่เข้าสงครามจนเอาชนะเหล่าข้าศึกทั้งหลาย
มีชีวิตรอดกลับมาจากสงครามคงจะเป็นนักรบกลุ่มเดียวที่เปรียบเทียบกับนักรบธรรม ที่สามารถฟันฝ่าเอาชนะกิเลส
กาม ทั้งหลายแม้จนถูกข่มขืนก็ไม่ยอมแพ้ ปล่อยให้ถูกกิเลสครอบงำ
ภิกษุกลุ่มนี้คงต้องฝึกตนมาอย่างดีแน่ๆที่เอาชนะรสสัมผัส
การเสพกามได้ พยายามหลีกเร้นไป ไม่ติดตามต่อ ไม่ไปหลงใหลด้วย คงหาไม่ได้ง่ายๆ
ที่น่าสนใจคือบุคคลเหล่านี้มีอยู่ปะปนในกองทัพธรรมหรือเหล่าภิกษุทั้งหลายด้วยคำยืนยันที่ว่า
“เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น
บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้คือบุคคล
ผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่
๕ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ
๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ”
บ้างที่เราที่เป็นชาวบ้านก็ต้องยอมรับว่าพระที่เรากราบไหว้อยู่เป็นภิกษุนักรบธรรมประเภทใดประเภทหนึ่งใน
5 ประเภทที่ไม่ใช่ทุกประเภทจะเอาชนะสงครามได้ แต่ก็เป็นนักรบธรรมที่ยังตั้งความเพียรด้วยการรักษาศีล
สมาธิ ภาวนา ยังเป็นเนื้อนาบุญที่สมควรแก่การทำบุญอยู่
การเปรียบเทียบเรื่องต่างๆในพระไตรปิฎกเป็นเรื่องสนุกและช่วยให้เข้าใจเนื้อหาที่ทางธรรมะได้ง่ายขึ้น
ด้วยการอุปมาอุปมัยทั้งหลาย ผู้อ่านผู้เรียนที่มีประสบการณ์ตรงกันมาบ้างก็จะพอเข้าใจขึ้นยึดเป็นหลักปฎิบัติและให้กำลังใจต่อตนเองได้ง่ายอีกทั้งการอ่านการฟังเรื่องที่ตนเองพอเข้าใจ
ก็จะโน้มน้าวใจให้ติดตามอ่านจนจบ
ผู้เขียนยังคงชักชวนให้เข้าไปอ่านเนื้อเรื่องจริงในพระไตรปิฎก
เพราะการอ่านและตีความโดยตรงจะได้ความถูกต้องเหมาะกับแนวคิดแนวปฎิบัติของแต่ละคนมากกว่า
อีกทั้งในพระไตรปิฎกยังมีส่วนที่พูดถึงสังคม ประวัติศาสตร์ การปกครอง การเมือง
ปรัชญา ความเชื่อ นิทาน อ่านสนุกอย่างเรื่องนี้เป็นต้น
การเปิดอ่านเพียงวันละหน้ายาวบ้างสั้นบ้างจะได้อะไรกลับมาเสมอ
แม้จะมีความเชื่อว่าพระธรรมเป็นของสูงสุดในพุทธศาสนาไม่ควรแตะต้องตีความเล่น
แต่ถ้าเราไม่อ่านไม่ทำความเข้าใจไม่ทบทวนในพระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าบอกไว้ว่าเป็นตัวแทนพระองค์หลังจากปรินิพพานแล้ว
ไม่ยึดเป็นที่พึ่งเหมือนที่เราชาวพุทธกล่าวปฎิญานยึด พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เป็นที่พึ่งแล้ว จะปฎิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับพระธรรมที่ถูกรวบรวมไว้เป็นอย่างดีในพระไตรปิฎก
@นั่งเก้าอี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น