ว่าด้วยเรื่องทุกข์(5)




การเกิดเป็นทุกข์อย่างหนึ่ง ในคำจำกัดความว่าการเกิดทางพุทธศาสนามีความลึกอยู่มาก ทุกๆการเปลี่ยนแปลงในจักรวาลมีการเกิดและดับเสมอ ดังนั้นทุกข์จึงเป็นสิ่งที่หมุนเวียนอยู่อย่างนั้น
เมื่อคนทั่วไปได้รับรู้ดังนั้นด้วยการตีความที่เน้นว่าทุกข์เหมือนกับความเจ็บปวด ทรมาน ความไม่พอใจเป็นต้น จึงทำให้เข้าใจว่าทั้งจักรวาลนี้มีแต่ความเจ็บปวด ทรมาน ความไม่พอใจ แต่ทุกข์ในทางพุทธศาสนา หมายถึงการเกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง ที่เป็นความหมายที่กว้างขวางและลึกไปกว่าทุกข์ที่คนเข้าใจและใช้พูดจาอยู่ทั่วไป

แต่ถ้าสนใจว่าทุกข์เป็นการเกิด ดับ ซึ่งรวมทั้งความเจ็บปวด ความสบาย ความไม่พอใจ ความพอใจทั้งหลายแล้วทุกข์ก็เหมือนกับกฎทางด้านฟิสิกส์อย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่นอุณหภูมิ ถ้าสูงกว่า 25'c ก็เริ่มร้อน ต่ำกว่าก็เริ่มเย็นการเอาความรู้สึกของมนุษย์เข้าไปจับก็เกิดความร้อนเย็นขึ้น การเข้าใจทุกข์ในลักษณะนี้จึงเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง และยังทำให้เข้าใจเรื่องที่พุทธศานาแนะนำวิธีที่เกี่ยวข้องกับทุกข์โดยความหมายนี้ได้มากขึ้น
และมหัศจรรย์ยิ่งเมื่อศาสนาพุทธยืนยันว่ามีธรรมอย่างหนึ่งไม่เกิดดับคือไม่มีทุกข์

ตัวอย่างง่ายๆที่ใช้พิจารณาเรื่องนี้เช่นเมื่อเกิดเสียง และมีหูที่ได้ยิน เสียงและหูไม่รู้จักกันหรอก แต่ใจที่ได้ยินไปรับรู้ และความทรงจำต่างๆก็บอกว่าเป็นเสียงอะไร ความพอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆก็เกิด จากนั้นก็เปลี่ยนต่อไปจนออกมาเป็นการกระทำตอบสนองต่อเสียงนั้นต่างๆนาๆ ถ้าจะพูดไปในทางพุทธก็คือการเกิดรูป เกิดเวทนา เกิดสัญญา เกิดสังขาร เกิดวิญญาน ครบขันท์ 5 พอดีในแง่การดับก็ครบเหมือนกัน

แล้วการจะพ้นจากการเกิดดับแบบนี้ก็คือการละ การวาง การไม่เกาะติด ซึ่งจะทำได้อย่างไรด้วยความคิดพิจารณา เพราะผลที่ได้จากการคิดพิจารณาก็เพียงความเข้าใจ แต่ไม่เกิดการเห็น การละวางขึ้น การลงมือปฎิบัติจะเริ่มแสดงการเห็นการเกิดดับเหล่านี้ได้บ้าง เริ่มบ่อยขึ้น จนผู้ปฎิบัติมีการเรียนรู้อีกแบบที่เป็นไปเหมือนกับการหายใจ การเดิน การขับรถ


@นั่งเก้าอี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น