คำถามหลายอย่างในพระไตรปิฎก จะเข้าใจที่มาที่ไปคงยาก เพราะคนตั้งคำถามได้คำถามนี้มาด้วยภูมิธรรมของแต่ละท่าน ความยากง่ายของคำถามก็ขึ้นกับคนตอบเหมือนกันถึงตอบแล้วมีเหตุผลคนถามก็อาจจะไม่เชื่อ ข้อนี้ในสมัยพุทธกาลโชคดีที่มีพระพุทธเจ้า เพราะพระองค์บำเพ็ญบารมีเพื่อจะได้ญานที่เรียกว่าเห็นแจ้งในทุกปัญหา การดับทุกข์ นิพพาน เป็นหนึ่งในการเห็นแจ้งนั้น
จึงจะพบว่าทุกสารทิศจะมาเข้าเฝ้าเพื่อถามปัญหาต่างๆในยุคสมัยนั้น ถ้าเป็นยุคนี้คนอาจจะถามคำถามอีกแบบ เช่นมนุษย์ต่างดาวมีอยู่หรือไม่? บิกแบงใช่คำตอบของการเกิดจักรวาลหรือไม่? โคลนนิ่งมนุษย์ผิดธรรมะหรือไม่? อายุของโลกนี้ยาวนานเท่าไหร่? อะไรจะมาแทน Internet?

คนที่ยังใช้เวลากับเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่องพ้นทุกข์ ก็คงอาจจะตีความคำว่าทุกข์แตกต่างออกไปจากความหมายของพุทธศาสนา ก็ใช้เวลาในวัฎฎสงสารยาวไปเรื่อยๆ
จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=09&A=7317&Z=7898 |

ท้ายสุดภิกษุหรือนั้นก็กลับมาพบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่าตั้งคำถามผิด ที่ถูกคืออะไรและคำตอบก็คือ
[๓๔๘] ดูกรเกวัฏฏ์ ลำดับนั้น ภิกษุนั้นได้หายไปที่พรหมโลก มาปรากฏข้างหน้าเราเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้อยู่ออกไป หรือคู้แขนที่เหยียดไว้เข้ามา ฉะนั้น. ต่อนั้นเธอไหว้เราแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ถามเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน
เมื่อเธอกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้ตอบว่า ดูกรภิกษุ เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกพ่อค้าเดินเรือทะเลย่อมจับนกตีรทัสสี (นกดูฝั่ง) ลงเรือไปด้วย เมื่อไม่เห็นฝั่ง เขาย่อมปล่อยนกตีรทัสสีมันบินไปยังทิศบูรพา ทิศทักษิณ ทิศปัจจิม ทิศอุดร ทิศเบื้องบน ทิศน้อย ถ้ามันแลเห็นฝั่งโดยรอบมันก็บินเลยไป ถ้ามันแลไม่เห็นฝั่งโดยรอบ มันก็จะกลับมายังเรือนั้นอีก ดูกรภิกษุเธอก็ฉันนั้นแล เที่ยวแสวงหาจนถึงพรหมโลก ก็ไม่ได้รับพยากรณ์ปัญหานี้ ในที่สุดก็ต้องกลับมาหายังสำนักเรานั่นเอง
เมื่อเธอกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้ตอบว่า ดูกรภิกษุ เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกพ่อค้าเดินเรือทะเลย่อมจับนกตีรทัสสี (นกดูฝั่ง) ลงเรือไปด้วย เมื่อไม่เห็นฝั่ง เขาย่อมปล่อยนกตีรทัสสีมันบินไปยังทิศบูรพา ทิศทักษิณ ทิศปัจจิม ทิศอุดร ทิศเบื้องบน ทิศน้อย ถ้ามันแลเห็นฝั่งโดยรอบมันก็บินเลยไป ถ้ามันแลไม่เห็นฝั่งโดยรอบ มันก็จะกลับมายังเรือนั้นอีก ดูกรภิกษุเธอก็ฉันนั้นแล เที่ยวแสวงหาจนถึงพรหมโลก ก็ไม่ได้รับพยากรณ์ปัญหานี้ ในที่สุดก็ต้องกลับมาหายังสำนักเรานั่นเอง
ปัญหาข้อนี้เธอมิควรถามอย่างนั้น แต่ควรถามอย่างนี้.
[๓๔๙] ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้.
ในปัญหานั้น มีพยากรณ์ดังต่อไปนี้
[๓๕๐] ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้.
อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน
ธรรมชาตินี้.
นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้.
เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. เกวัฏฏ์ คฤหบดีบุตรมีใจชื่นชม เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
คำตอบก็ยังยากสำหรับผู้เขียนที่จะทำความเข้าใจอยู๋ แต่ธรรมชาติที่รู้แจ้ง นี้คงเป็นอีกชื่อหนึ่งของการพ้นทุกข์เมื่อนามรูปดับลง
@นั่งเก้าอี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น