อภิธรรม ความ ยาก ของ ผู้ ศึกษา



วันนี้หยิบเรื่องยากมาให้อ่านเล่น คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นการวิเคราะห์แจกแจงที่ละเอียดที่สุดทางจิตในโลกนี้แล้ว จะไม่มีหนังสือ หรือคำสอนใดที่เทียบเคียงได้เลย ในแง่ของศัพธ์ที่ใช้อธิบายหรือชื่อเรียกดวงจิต อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับจิตจึงมีความละเอียดซับซ้อนอย่างยิ่ง
ความยากในการศึกษาอภิธรรมในศาสนาพุทธ มาจากการจะต้องเข้าใจความหมายศัพธ์อย่างลึกซึ้ง บทความนี้เป็นการยกตัวอย่างการแจกแจงเรื่องรูป จากบทสั้นๆที่นำมา เมื่อแปลเป็นภาษาปัจจุบันแล้วถ้าไม่มีพื้นฐานทางพุทธศาสนามาบ้างก็แทบไม่เข้าใจเลย
คำศัพธ์ต่างๆผู้เขียนก็พยายามหามาประกอบการแปล และด้วยความด้อยทางด้านภาษาของผู้เขียนเองก็ไม่สามารถหาคำแปลที่เหมาะสมได้ทุกศัพธ์

หัวข้อเรื่องรูปในทางธรรมมะน่าสนใจเพราะแตกต่่างจากความเข้าใจของชาวพุทธมาก แต่เมื่อพิจารณาต่างก็จะยั่งลงลึกได้มากน้อยตามภูมิรู้ภูมิธรรมของแต่ละคน ก็ยังเห็นว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ ยกตัวอย่างเช่น
รูปไม่ใช่เหตุ ไม่ประกอบกับเหตุแต่หนุนให้เกิดทุกข์
รูปเป็นอารมณ์ของกิเลส
รูปเป็นธรรมกลางๆไม่ชั่วไม่ดี
รูปไม่ใช่ผลของกรรม
รูปไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน

รูป เป็นปัจจุปันนธรรม อันวิญญาณ ๖ คือวิญญานทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พึงรู้ 

(*ความเห็นของผู้เขียน) บ้างคนอาจเข้าใจว่ารูปคือการเห็นที่ตาเท่านั้น และตรงนี้ก็สำคัญคือรูปเป็นปัจจุบันนธรรม ผู้เขียนให้ความใส่ใจคำว่าปัจจุบันในพระไตรปิฎกเสมอไม่ว่าพบที่ใด เพราะคือหลักปฎิบัตสำคัญอันหนึ่งของการละทุกข์ด้วยการกำหนดรู้ปัจจุบัน ที่เรียกง่ายว่า สติ
ดังนั้นเมื่อมีการเห็นรูปในขณะเจริญสติ ไม่ได้เป็นโทษอะไร เหมือนหลายคนที่พยายามเจริญสติให้ว่างๆเข้าไว้เพราะเข้าใจว่าสติ กับ สงบคงคล้ายกันก็พยายามกดดันให้จิตว่างเข้าไว้ เลยได้แต่สงบดี หรือไม่ก็กดดันตัวเองเกินไป
เพราะฉนั้นเวลาเรื่องเก่าเรื่องใหม่แวบเข้ามาแล้วไม่สบายใจตอนนั้นเป็นปัจจุบันเกิดดับให้เห็นแล้วก็น่าจะดีใจที่เห็นแล้วกำหนดได้แล้วดูต่อไปเฉยๆว่ารูปนั้นจะเป็นอย่างไรต่อ ถ้าไม่ติดเข้าไปวิตกวิจาร จะเห็นความเสื่อมเกิดขึ้นเองแน่เพราะ
รูป ไม่เที่ยง มีความเสื่อมแล้ว
ตรงนี้ก็อาจจะหมายถึงไตรลักษณ์ของรูป เห็นการเกิดดับของทุกข์แล้ว นี่ไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์ที่พระพุทธเจ้าชี้ทางให้หรอกหรือ



จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=4141&Z=4393&pagebreak=0


[๕๐๓] รูปทั้งหมด ไม่ใช่เหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ เป็นไปกับด้วยปัจจัย
เป็นสังขตธรรม เป็นรูปธรรม เป็นโลกิยะธรรม เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์
ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็น
อัพยากตธรรม ไม่มีอารมณ์ ไม่ใช่เจตสิก วิปปยุตจากจิต ไม่ใช่วิบาก และไม่ใช่ธรรมเป็นเหตุ
แห่งวิบาก ไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ไม่ใช่ธรรมมีทั้งวิตกทั้งวิจาร ไม่ใช่ธรรม
ไม่มีวิตก แต่มีวิจาร ไม่มีทั้งวิตกวิจาร ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยปีติ ไม่ใช่ธรรมที่สหรคต
ด้วยสุข ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน ๓ ไม่
ประหาณ ไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ประหาณ ไม่เป็นเหตุให้
จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของอเสกขบุคคล
เป็นปริตตธรรม เป็นกามาวจรธรรม ไม่ใช่รูปาวจรธรรม ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม เป็นปริยาปันน-
*ธรรม ไม่ใช่อปริยาปันนธรรม เป็นอนิยตธรรม เป็นอนิยยานิกธรรม เป็นปัจจุปันนธรรม อัน
วิญญาณ ๖ พึงรู้ ไม่เที่ยง อันชราครอบงำแล้ว

คำแปล
[๕๐๓] รูปทั้งหมด ไม่ใช่เหตุ ไม่มีเหตุ ไม่ประกอบด้วยเหตุ เป็นไปกับเครื่องหนุนให้เกิด
เป็นธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นรูปธรรม เป็นโลกิยะธรรม เป็นอารมณ์ของกิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน
เป็นอารมณ์ของธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือ กาม พยาบาท หดหู่ซึมเซา ฟุ้งซ่านรำคาญ ลังเลสงสัย
เป็นอารมณ์ของการยึดจับยึดมั่นเป็นอารมณ์ของความยึดมั่น, ความถือมั่น เป็นอารมณ์ของเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง เป็น
ธรรมกลางๆไม่ชั่วไม่ดี ไม่มีอารมณ์

ไม่ใช่อาการของจิต ไม่ประกอบจากจิตร
ไม่ใช่ผลของกรรม ไม่ใช่ธรรมเป็นเหตุให้เกิดผลกรรม
ไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
ไม่ใช่ธรรมมีทั้งการตรีกปักจิตสู่อารมณ์ ทั้งการไตร่ตรอง
ไม่ใช่ธรรมไม่มีการตรีกปักจิตสู่อารมณ์ แต่มีการไตร่ตรอง
ไม่มีทั้งการตรีกปักจิตสู่อารมณ์การไตร่ตรอง
ไม่ใช่ธรรมที่ร่วมกับด้วยปีติ
ไม่ใช่ธรรมที่ร่วมกับด้วยสุข
ไม่ใช่ธรรมที่ร่วมกับด้วยอุเบกขา ที่ โสดาปัตติมรรค สกิทาปัตติมรรค อนาคามีปัตติมรรค อรหันตมรรค ไม่ละ กำจัด
ไม่มีประกอบด้วยเหตุอันโสดาปัตติมรรค สกิทาปัตติมรรค อนาคามีปัตติมรรค อรหันตมรรค ละ กำจัด
ไม่เป็นเหตุให้เคลื่อนจากภพหนึ่งไปเกิดและ
ไม่เป็นเหตุให้ถึงการดับกิเลสและกองทุกข์
ไม่เป็นของผู้ยังต้องศึกษาและไม่เป็นของผู้ไม่ต้องศึกษาแล้วคือพระอรหันต์
เป็นปริตตธรรม
เป็นธรรม  ซึ่งท่องเที่ยวไปในกามภพ, ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับกาม
ไม่ใช่ธรรม ซึ่งท่องเที่ยวไปในรูป
ไม่ใช่ธรรม ซึ่งท่องเที่ยวไปในอรูปภพ
เป็นปริยาปันนธรรม
ไม่ใช่อปริยาปันนธรรม
เป็นอนิยตธรรม
เป็นอนิยยานิกธรรม
เป็นปัจจุปันนธรรม อันวิญญาณ ๖ คือวิญญานทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พึงรู้
ไม่เที่ยง อันชราครอบงำแล้ว



ศัพธ์
ปัจจัย
       1. เหตุที่ให้ผลเป็นไป, เหตุ, เครื่องหนุนให้เกิด
       2. ของสำหรับอาศัยใช้, เครื่องอาศัยของชีวิต,
           สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต มี ๔ อย่าง คือ
               จีวร (ผ้านุ่งห่ม)
               บิณฑบาต (อาหาร)
               เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย)
               คิลานเภสัช (ยาบำบัดโรค)
สังขตธรรม ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ตรงกับสังขารในคำว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น;  ตรงข้ามกับ อสังขตธรรม
อาสวะ กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ
       มี ๓ อย่าง คือ
           ๑. กามาสวะ อาสวะคือกาม
           ๒. ภวาสวะ อาสวะคือภพ
           ๓. อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา;
       อีกหมวดหนึ่งมี ๔ คือ
           ๑. กามาสวะ
           ๒. ภวาสวะ
           ๓. ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ
           ๔. อวิชชาสวะ;
       ในทางพระวินัยและความหมายสามัญ หมายถึง เมรัย
       เช่น ปุปฺผาสโว น้ำดองดอกไม้, ผลาสโว น้ำดองผลไม้
นิวรณ์, นิวรณธรรม ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี,
       สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. กามฉันท์ พอใจในกามคุณ
           ๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น
           ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา
           ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
           ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
ปรามาส ๒- [ปะ-รา-มาด] การจับต้อง, การยึดฉวย, การจับไว้มั่น, การลูบหรือเสียดสีไปมา, ความยึดมั่น;
       มักแปลกันว่า การลูบคลำ
อุปาทาน ความยึดมั่น, ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ
       ๑. กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม
       ๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ
       ๓. สีลัพพตุปาทาน ความถือมั่นในศีลและพรต
       ๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะว่าตน
อุปาทานขันธ์ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ได้แก่ เบญจขันธ์ คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ประกอบด้วยอาสวะ
สังกิเลส เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
อัพยากตธรรม ธรรมกลางๆไม่ชั่วไม่ดี (*ผู้เขียนแปลเอง)
เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๒ อย่าง จัดเป็น
       อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
       อกุศลเจตสิก ๑๔
       โสภณเจตสิก ๒๕
ญาณวิปปยุต ปราศจากญาณ, ไม่ประกอบด้วยปัญญา, ปราศจากปรีชาหยั่งรู้, ขาดความรู้
วิบาก ผล, ผลแห่งกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน
สังกิเลส เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
วิตก ความตรึก, ตริ,
       การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือปักจิตลงสู่อารมณ์ (ข้อ ๑ ในองค์ฌาน ๕),
       การคิด, ความดำริ;
       ไทยใช้ว่าเป็นห่วงกังวล
วิจารณ์
       1. พิจารณา, ไตร่ตรอง
       2. สอบสวน, ตรวจตรา
       3. คิดการ, กะการ, จัดเตรียม, จัดแจง, ดูแล, จัดดำเนินการ
       4. ในภาษาไทย มักหมายถึง ติชม, แสดงความคิดเห็นในเชิงตัดสินคุณค่า ชี้ข้อดีข้อด้อย
สหรคต ไปด้วยกัน, กำกับกัน, ร่วมกัน
ปีติ ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ คือ
       ๑. ขุททกปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล
       ๒. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลกๆ ดุจฟ้าแลบ
       ๓. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอกรู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง
       ๔. อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ให้ใจฟูตัวเบาหรืออุทานออกมา
       ๕. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์เป็นของประกอบกับสมาธิ
       (ข้อ ๔ ในโพชฌงค์ ๗)
โสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน ๓ โสดาปัตติมรรค สกิทาปัตติมรรค อนาคามีปัตติมรรค อรหันตมรรค (*ผู้เขียนแปลเอง)
ประหาน ละ, กำจัด; การละ, การกำจัด;
       ตามหลักภาษาควรเขียน ปหาน หรือ ประหาณ
สัมปยุต ประกอบด้วย;
       สัมปยุตต์ ก็เขียน
จุติ เคลื่อนจากภพหนึ่งไปสู่ภพอื่น, ตาย (ส่วนมากใช้กับเทวดา)
ปฏิสนธิ เกิด, เกิดใหม่, แรกเกิดขึ้นในครรภ์
นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา;
นิพพานธาตุ ภาวะแห่งนิพพาน;
       นิพพาน หรือ นิพพานธาตุ ๒ คือ
           ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ
           ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ
บทว่า เสกฺโข มีความว่า พระอริยบุคคล ๗ จำพวก กับทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมศึกษาสิกขาบท ๓ เพราะเหตุนั้น จึงจัดเป็นเสกขบุคคล.
               ในเสกขบุคคลเหล่านั้น คนใดคนหนึ่งพึงทราบว่า เป็นภิกขุเสกขะ. ที่ชื่อว่าอเสกขบุคคล เพราะไม่ต้องศึกษา.
               พระขีณาสพ ท่านเรียกว่า อเสกขบุคคล เพราะล่วงเสกขธรรมเสีย ตั้งอยู่ในผลเลิศ ไม่มีสิกขาที่จะต้องศึกษาให้ยิ่งกว่านั้น.
ในเสกขบุคคลเหล่านั้น คนใดคนหนึ่งพึงทราบว่า เป็นภิกขุเสกขะ. ที่ชื่อว่าอเสกขบุคคล เพราะไม่ต้องศึกษา.
               พระขีณาสพ ท่านเรียกว่า อเสกขบุคคล เพราะล่วงเสกขธรรมเสีย ตั้งอยู่ในผลเลิศ ไม่มีสิกขาที่จะต้องศึกษาให้ยิ่งกว่านั้น.
ปริตตธรรม (*ผู้เขียนยังหาคำแปลไม่ได้)
ในญาณ ๑๐ เหล่านั้น วิปัสสนาญาณมีอารมณ์ ๗ อย่าง คือ ปริตตารมณ์ มหัคคตารมณ์ อตีตารมณ์ อนาคตารมณ์ ปัจจุบันนารมณ์ อัชฌัตตารมณ์ พหิทธารมณ์.
               มโนมยญาณทำเพียงรูปายตนะที่นิรมิตแล้วเท่านั้นให้เป็นอารมณ์ ฉะนั้น จึงเป็นปริตตารมณ์ ปัจจุบันนารมณ์ และพหิทธารมณ์.
กามาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในกามภพ, ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับกาม
รูปาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในรูป, อยู่ในระดับจิตชั้นรูปฌาน, ระดับที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์, เนื่องในรูปภพ
อรูปาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในอรูปภพ, ยังเกี่ยวข้องอยู่กับอรูปธรรม
ปริยาปันนธรรม (*ผู้เขียนยังหาคำแปลไม่ได้)
อปริยาปันนธรรม (*ผู้เขียนยังหาคำแปลไม่ได้)
อนิยยานิกธรรม(*ผู้เขียนยังหาคำแปลไม่ได้)
วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต,
       ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน
       เช่น รูปอารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น
       ได้แก่ การเห็น การได้ยิน เป็นอาทิ;
       วิญญาณ ๖ คือ
           ๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา (เห็น)
           ๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน)
           ๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น)
           ๔. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส)
           ๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)
           ๖. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น