กาย บุคคล รูป เรา


การทำความเข้าใจ เมื่ออ่านพระไตรปิฎกมักจะพบปัญหาอย่างหนึ่งเสมอคือศัพธ์ที่ใช้มีความหมายแตกต่างจากความเข้าใจของภาษาพูดปกติ เหมือนอย่างที่พูดกันว่าภาษาชาววัดกับภาษาชาวบ้าน
เมื่อพูดถึง กายในพระไตปิฎก คำแปล จะตรงกับคำว่าร่างกายมากที่สุด เช่น กายแตก กายนี้หง่อมแล้ว เราก็พอจะเข้าใจ จะไม่เจอว่า บุคคลแก่แล้ว

พอพูดถึงบุคคล ก็น่าจะแปลว่า คน ใช้แทนคนนั้น คนนี้ พิจารณาว่าเป็นคนที่มีร่างกาย และจิตใจ เป็นใคร หรือเรียกทั่วไป เพื่อแทนสมมติที่ว่า พ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ดังนั้นเมื่อ พูดถึงคนทั่วไปก็จะเรียกว่าเป็นบุคคล และไม่ใช้ คำว่ากายมาแทน




คำว่ารูป จะมีความหมายคลุมมากกว่า และแตกต่างหนักไปในทางนามธรรม มากกว่า รูป ที่พูดถึง ไม่ได้หมายถึงเฉพาะตาเห็นรูป ในพระไตรปิฎกมักพูดว่าตาเห็นสี แต่สิ่งที่ตาเห็นเป็นรูป สิ่งที่หูได้ยินเป็นรูป สัมผัสรูป แล้วใจ(วิญญาน)รับรู้รูปนั้น รูปจึงเป็นกลุ่มก้อนที่ใจสัมผัสได้ แล้วแต่ว่าเป็นรูปอะไร รูปต่างๆที่ใจรับเข้าไปแปลต่อให้เกิดเป็นโลกของแต่ละบุคคลขึ้นมา กายของบุคคลก็จะเป็นรูปที่แต่ละบุคคลเห็นหรือรับรู้ เริ่มงงแล้ว




เพราะศาสนาพุทธยืนยันว่าตัวตนที่เกิดจากอุปทานไม่ควรยึดถือเพราะเป็นทุกข์ การจะเรียกบุคคลหรือตัวเอง หรือผู้อื่นก็เป็นการยาก โดยเฉพาะพระอรหันต์ที่ละจากตัวตนแล้วก็ยากที่จะเรียกตนเองว่าอย่างไร บ้างที่ก็เรียกตนเองว่ารูปไป บ้างทีก็เรียกกลางๆไปว่าเราแทนตัวเองแต่ก็เป็นการเรียก เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสมมติว่าหมายถึงสิ่งใดอยู่ แม้ว่าจะไม่ยึดคำว่าเราว่าเป็นตัวเราก็จำต้องใช้สรรพนามสมมติบ้างอย่างเพื่อใช้สนทนา
ลองนึกเล่นๆว่าถ้าไม่มีตัวตนจะให้ยึดแล้วเราจะเรียกตัวเองว่าอะไรเพื่อให้คนทั่วไปที่ยังไม่ละตัวตนเข้าใจก็คงพอจะเห็นความยากในการเขียนพระไตรปิฎก




หมายเหตุ บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเองเพื่อใช้พิจารณาทำความเข้าใจในการอ่านพระไตรปิฎกโปรดพิจารณา


@นั่งเก้าอี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น