พระ ข้อ ห้าม แรก เสพ เมถุน


 นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์ มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ส่วนหนึ่งจาก:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑
วินีตวัตถุ
อุทานคาถา

[๗๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความ
เลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ
             นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์ มาเสพเมถุนธรรมเถิด
             ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
             นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ระหว่างขาอ่อน โดยวิธีนี้อาบัติจัก
ไม่มีแก่ท่าน
             ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.




ลังเลอยู่เหมือนกันที่จะนำส่วนเนื้อหานี้ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มแรก ออกมาเขียน แต่ก็อยากให้ชาวพุทธที่ไม่เคยเปิดพระไตรปิฎกอ่านเลย เคยเห็นแต่หนังสือธรรมะที่คัดเฉพาะส่วนที่น่าอ่านมาให้ ได้รู้ว่าแท้จริงมีเรื่องที่น่าสนใจในพระไตรปิฎกอีกมากมายหลายแง่มุม บางทีก็จะทำให้เข้าใจที่มาที่ไปของเรื่องราวที่ดูเป็นอิทธิปาฎิหารย์ บางเรื่องก็เป็นเรื่องใกล้ตัวของชาวบ้านทั่วไปและความเป็นไปได้ที่จะบรรลุธรรมต่างๆด้วยความเพียรของคนธรรมดานี่แหละ

เมื่อได้อ่านครั้งแรกทำให้เข้าใจว่าศีลข้อแรกๆที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามภิกษุคือการเสพเมถุน หรือการร่วมเพศ หลังจากได้อ่านโดยละเอียดก็พบว่าในอีกแง่มุมหนึ่งของพระไตรปิฎกก็คือประวัติศาสตร์เมื่อสองพันกว่าปีที่ผ่านมา เห็นวัฒนธรรม ประเพณี ความคิดของคนสมัยนั้น

วิธีการหลบเลี่ยงศีลข้อนี้ของภิกษุในแบบต่างๆ ทำให้เห็นว่า การร่วมเพศแบบวิตถารต่างๆมีตั้งนานมาแล้ว กระเทยก็มีมาแล้ว การเปลี่ยนเพศก็มี การยุ่งเกี่ยวกับสัตว์ การยุ่งเกี่ยวกับคนในครอบครัว การร่วมเพศกับอวัยวะส่วนอื่นๆของร่างกาย  การร่วมเพศกับศพ กับบาดแผล ความหลากหลายเท่าที่พยายามคิดจะเลี่ยงกัน

ทำให้เห็นความซุกซนของสตรีสมัยนั้น ความพยายามจากผู้คนเพื่อให้ภิกษุสมัยนั้นผิดศีล
เห็นความเหนื่อยยากของพระพุทธองค์ที่ต้องมาตัดสินความผิดศีลข้อนี้หนักเบาแตกต่างกันไป
ส่วนที่เห็น ตัดสินชัดเจนคือถ้ามีการเสพเมถุนแต่ไม่มีความพอใจในการนั้นก็จะไม่ต้องอาบัติปาราชิกคือขาดจากการเป็นสงฆ์



@นั่งเก้าอี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น