เปลือก กะพี้ แก่น เลือก ได้


คงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะพูดถึงแก่นสารของพุทธศาสนา แต่ลองถามคนรอบตัวดูก็จะพบว่าได้คำตอบที่แตกต่างกันตามความรู้ความเข้าใจของแต่ละคน อย่างที่ว่าแล้วแต่ภูมิรู้ภูมิธรรม

เรื่องที่แนะนำวันนี้คงจะตอบคำถามนี้ได้ชัดเจนที่สุด ทำความเข้าใจก็ง่าย อ่านง่ายบ้านลิวพบในหนังสือพระไตรปิฎกฉบับประชาชนแล้วจึงค้นต่อในฉบับเต็มก็ได้เนื้อความเดียวกัน ลองอ่านดูกันนะ เนื้อหาไม่ยาวมาก เข้าใจง่าย ได้แง่คิดมากมาย สรุปด้วยการปฎิบัติที่ถูกที่ควรแก้ทุกข์ได้



http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=6505&Z=6695

เนื้อหาโดยย่อก็เริ่มจากรู้จักความทุกข์แล้วแสวงหาทางออกก็เปรียบเหมือนคนหาแก่นไม้มาเพื่อแก้ปัญหาตัวเองแต่ ไม่รู้จ้กแก่นไม้เป็นอย่างไร
พอออกบวชก็ติดในลาภยศแล้วก็ติดอยู่อย่างนั้นเข้าใจว่าเป็นแก่น หรือไม่ก็เคร่งศีลแล้วก็ติดอยู่ที่ศีลหรือไม่ก็ติดอยู่ที่สมาธิ อยู่ที่ญาน เพราะคิดว่าดีกว่าเป็นขั้นไป ก็ติดอยู่แบบนั้นอีก

สุดท้ายกลับกลายว่า ไม่ติดกับอะไรเลยข้ามไปเลย "หลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบ" กลายเป็นแก่นที่สำคัญทางพุทธนี้


บ้างทีก็สะท้อนความเป็นชาวพุทธของคนไทยบ้างคน ที่พกความใจบุญมาเต็มที่ แต่ก็ใช้เวลาลัดเลาะอยู่แถวๆเปลือกของความเป็นพุทธ ครั้นเวลาทุกข์มาเยือนก็เริ่มคลอนแคลนกับสิ่งที่ทำอยู่ แม้จะพูดว่า    พุทธัง สรณัง อยู่ก็จะถูกพัดพาตามกระแสเรื่อยไป ตัวอย่างนี้เป็นผู้เขียนเอง ในใจก็คิดว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นที่ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆก่อน แต่ก็นึกได้ว่าในอดีตบ้างท่านที่พบแก่นโดยไม่ต้องผ่านเปลือก กะพี้ก็คงมี

ครั้งหนึ่งเมื่อผู้เขียนเคยบวชเรียน หลวงพ่อเทียนเคยสอนไว้จำได้ว่าวัฒนธรรมประเพณีที่ดี ทำบุญตักบาตร เป็นเรื่องดีเปรียบเหมือนข้าวเปลือกต้องมีเอาไปขัดไปสีจะได้มีข้าวหุงกิน ส่วนทางดับทุกข์โดยตรงเจริญสติภาวนาให้มีไว้เป็นเหมือนข้าวสุก กินได้เลยอิ่มเลย จะทิ้งข้าวเปลือกไม่มีแพร่พันธ์ไปก็จะไม่มีข้าวสุกให้กิน

@นั่งเก้าอี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น