เสข บุคคล พล กำลัง ทั้ง 5


บ้านลิวในช่วงหยุดเข้าพรรษาหลายวันที่ผ่านมาได้ต้อนรับผู้คนและเรื่องราวต่างๆมากมาย หลายเรื่องก็เป็นบททดสอบที่ดีสำหรับเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งที่พยายามจะทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด ในความต้องการของมนุษย์ที่แตกต่างกันออกไปก่อให้เกิดเป็นความรักและความขัดแย้งกันได้


บทเรียนจากพระไตรปิฎกในเรื่อง กำลัง 5 อย่างที่ผู้ที่เป็น เสขบุคคล (อริยะบุคคลที่ยังต้องศึกษาอยู่เพื่อความพ้นทุกข์) ควรปฎิบัติสม่ำเสมอ หรือออกกำลังไว้ให้เสมอ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่น่าอ่านอีกเรื่องของชาวพุทธ ก็อาจจะพอเทียบกันการออกกำลังกายให้แข็งแรงเพื่อเวลาที่กรรมเก่ามาเยือนจะได้มีทางรอดได้บ้าง


เริ่มจากการสอนถึง กำลัง 5 มีอะไร บ้าง
ศรัทธา      มีความเชื่อต่อพระปัญญา ของพระพุทธเจ้าที่จะนำให้พ้นทุกข์
หิระ           มีความละอายใจต่อบาปทุจริต 3 คือ กาย วาจา ใจ
โอตตัปปะ มีความกลัวต่อบาปทุจริต 3 คือ กาย วาจา ใจ
วิริยะ         มึความเพียร ตั้งความเพียรไว้ในการละอกุศลทั้งหลาย เจริญกุศลทั้งหลายไว้
ปัญญา      มีปัญญาพิจารณา หยั่งถึงความเกิด ความดับ การชำแรกกิเลสให้สิ้นทุกข์
กำลังทั้ง5 ที่ควรออกกำลังไว้เสมอ ลองดูทีละอย่างก็จะเห็นว่าน่าสนใจ เช่น
ถ้าเรื่องศรัทธามักจะพูดถึงเรื่องเดียวเสมอคือเชื่อต่อพระปัญญาพระพุทธเจ้าก่อน แม้ว่าจะยังไม่เห็นผลก็ดำรงศรัทธานี้ไว้ก่อนปฎิบัติตามคำสอนไปก่อน ตรงนี้อาจจะลำบากสำหรับผู้รู้มาก ก็คิดมาก ทิฐฐิมากตามไปด้วย   จะให้ศรัทธาไว้ก่อนก็ฝืนใจ
สองข้อต่อไปถ้าไม่ศรัทธาก็ควรจะกลัวบาป อายบาปกันบ้าง บาปที่ว่านี้คืออะไรก็คงเป็นบาปอกุศลทางกาย ทางวาจา ทางใจ ใครถือศีล 5 ก็ระวังกาย วาจาไปบ้างแล้วคราวนี้ก็ระวังใจไม่ให้หลงไปกับกิเลสต่อไป จะอาย ที่จะทำ และหรือ กลัวผลที่จะเกิดแม้จะทำก็กลัว ทำได้มากน้อยก็ยังดีได้ระวังสำรวมตัวกันบ้าง คนเราถ้าไม่ทำผิดทาง กาย วาจา ใจ กันแล้วก็ นึกไม่ออกว่าจะเป็นโทษ เป็นพิษภัย อะไรได้ อยู่ที่ไหนก็น่าจะสบาย กับทั้งตัวเองและผู้คนรอบข้าง ตรงนี้ถึงไม่มีศรัทธาก็ควรจะนึกตามเหตุตามผลได้บ้างอะไรที่เป็นประโยชน์กับตัวเองและผู้อื่น
วิริยะ ป็นธรรมมะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพ้นทุกข์ซึ่งผู้เขียนเองก็เข้าใจว่าเป็นความแตกต่างอย่างมากกับศาสนาอื่นที่เน้นไปที่การร้องขอ หรือตั้งความปรารถนาใดๆ  การตั้งความปรารถนาหรือร้องขอสิ่งศักสิทธิ์ใดๆไม่เห็นในคำสอนทางพุทธศาสนาที่บอกว่าให้หมั่นทำให้มากไว้ แต่การตั้งความเพียรกลับเป็นเรื่องที่พระพุทธองค์สอนอยู่เป็นประจำ ตั้งความเพียรไว้เสมอ ทำไว้ให้มาก ทำโดยไม่ต้องปรารถนา ไม่ต้องหวังผล แม้ว่าไม่ต้องสนใจผู้ที่ทำหรือตัวตนด้วยซ้ำ การทำความเพียรที่ว่าเพียรทำอะไรก็เพียรละอกุศลทั้งหลายที่เกิดขึ้นเข้ามากระทบกันอยู่ทุกๆขณะ ละได้กุศลก็เกิด เกิดแล้วจะเป็นอย่างไรก็ไม่สำคัญ ก็เพียรอยู่เท่านั้นเอง ข้อวิริยะนี้สำคัญเน้นมาก แม้น้ำตานองหน้าอยู่ก็ยังเน้นให้เพียรเข้าไว้ เพราะถ้าไม่เพียร อกุศลก็จะเข้าครอบงำได้

ปัญญา ดูเหมือนจะไม่มีทางอื่นถ้าไม่ผ่านปัญญาก็เห็นจะดับทุกข์ได้ยาก ปัญญาข้อนี้ก็พูดถึงปัญญาที่เห็นความเกิด ความดับ (ในบทก่อนเรื่องความเกิดเป็นทุกข์) หรือการเห็นทุกข์ ดับทุกข์ซึ่งก็คงจะไม่เกิดจากการใช้ปัญญาแบบที่เป็นการจำ การท่อง แต่คงจะเป็นการเห็นจากการฝึกฝนปฎิบัติ มีสติ สมาธิมาเกี่ยวข้อง และเห็นการเกิด ดับ อยู่อย่างนั้น และเช่นกันที่พระสูตรนี้บอกว่าถ้าไม่รักษากำลังตัวนี้ไว้อกุศลก็จะเข้ามา
กำลังทั้ง 5 เป็นเรื่องที่ต้องลงมือทำและเมื่อลงมือรักษากำลังนี้ไว้แล้วอนิสงค์ก็จะมีหลายอย่างเช่น
อยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อน ในปัจจุบัน (ระบุว่าในปัจจุบันลองพิจารณา) เมื่อแตกกายตายก็หวังสุขคติได้
ไม่ถูกทิ้งในนรก
ไม่น่าติเตียน
และอื่นๆที่น่าสนใจลองอ่านดูจากพระสูตรนี้


 @นั่งเก้าอี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น