เราตั้งความเพียรเพื่อทำอะไรบ้างอย่างให้สำเร็จ
จะลดความอ้วน ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำโปรเจคให้เสร็จ จีบใครสักคน สร้างฐานะ
เรียนรู้โปรแกรมใหม่ ทุกอย่างต้องใช้ความเพียรเป็นองค์ประกอบแห่งความสำเร็จ ในมรรค
8 ความเพียรชอบก็เป็นหนึ่งที่จะทำให้พ้นทุกข์
แต่ก็มึรายละเอียด ที่ว่าต้องเป็นความเพียรชอบ อย่างไรจึงเป็นความเพียรชอบที่ว่า
สำหรับผู้ปฎิบัติเพราะอาจมึเรื่องเข้าใจผิดอยู่
ทั่วไปก็มักจะเข้าใจว่าความเพียรกับความหวังความปรารถนาเป็นเรื่องเดียวกัน การตั้งความหวัง
ความปรารถนาใดอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเพียรเลย
ยกตัวอย่างเช่นตั้งความหวังไว้ว่าจะสอบให้ได้ด้วยการอ้อนวอนร้องขอเทวดาเอาแต่ตั้งความหวังความปรารถนาไว้อย่างนั้น
ก็ไม่มีองค์ประกอบใดที่เป็นเหตุผลว่าจะประสบความสำเร็จเพราะตั้งความหวังไว้เพียงอย่างเดียวแต่ถ้าเพียรด้วยการอ่านหนังสือศึกษาสอบถามให้มาก
ทำความเข้าใจในเนื้อหา ทดสอบตัวเองสม่ำเสมอ
ล้วนเป็นการสร้างปัจจัยอยู่บ่อยๆเพื่อให้ประสบความสำเร็จด้วยการกระทำอย่างต่อเนื่อง
มีวินัยทำอยู่ได้อย่างนั้นแม้มีอุปสรรคใดๆ ด้วยการทำเช่นนี้แม้จะไม่มีการตั้งความหวังความปรารถนาใดๆ
สิ่งที่เพียรทำต้องก่อเกิดผลเป็นความสำเร็จในวันใดวันหนึ่ง เหมือนที่พบในพระไตรปิฎกว่าแม่ไก่กกไข่จะตั้งความปรารถนาหรือไม่เมื่อเหตุปัจจัยประกอบกันครบแล้วลูกไก่ก็ออกจากไข่มา
เราปลูกมะม่วงจะตั้งความหวังหรือไม่ถ้ารดน้ำพรวนดินดูแลต้นไม้ไป
จะได้ลูกมะม่วงเมื่อไหร่อย่างไรกิ่งไหนก็จะได้ตามเหตุปัจจัยไม่ได้เกิดจากการตั้งความหวังหรือการร้องขอใด
เรื่องที่เข้าใจผิดอีกอย่างที่ว่าตั้งความเพียรชอบนั้นไม่เฉพาะเจาะจงในความเพียรนั้น
ศาสนาพุทธมีความเฉพาะเจาะจงเรื่องนี้ก็เคยพูดไว้หลายครั้งในบทความอื่น ดังนั้นความเพียรชอบในมรรค
8 ก็ไม่ใช่ความเพียรในการสวดมนต์ ความเพียรในการให้ทาน
ความเพียรในการทำบุญตามประเพณี
แต่การทำภาระต่างๆเหล่านั้นถ้าตั้งความเพียรไว้ถูกต้องขณะที่กำลังปฎิบัติอยู่นั้นก็จะเป็นการตั้งความเพียรชอบเช่นกัน
การตั้งความเพียรนั้นให้ประโยชน์และโทษขึ้นอยู่กับผู้ตั้งความเพียรไว้อย่างไรเช่นตั้งใจจะปล้น
ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น เฝ้าคอยคิดวางแผนการ ติดตามเพื่อจะทำร้ายผู้อื่น
หรือเช่นกันแม้ไม่ได้ตั้งความปรารถนาใดแต่กระทำอยู่เป็นประจำจนเกิดความชำนาญเช่นการเล่นเกม
การเป็นนักเลงยา การพนัน การมัวเมาในกามต่างๆ
เมื่อทำบ่อยก็เป็นการเพียรพยายามอยู่จนท้ายสุดผลก็จะต้องเกิดตามมา
ความสำคัญที่ว่าต้องตั้งความเพียรชอบจึงควรเข้าใจให้ดีเพราะถ้าปฏิบัติแล้วเสียเวลาไปเป็นโทษอย่างหนึ่ง
ปฏิบัติแล้วไปสร้างสมความเพียรในทางเลวก็จะเกิดผลกรรมชั่วตามมาเป็นโทษซ้ำกว่าจะกลับมาถูกทิศทางต้องรื้อต้องถอนของเก่าของเลวที่สะสมไว้ออกไปทีละน้อย
พระสูตรบทนี้คือการตั้งความเพียรชอบไม่ว่าจะนั่ง
เดิน ยืน นอนตื่นอยู่ การตั้งความเพียรเพื่อละวิตก(ความหมายของวิตกอ่านได้จากบทความเรื่อง”วิตกด่านหินแรก”) วิตกต่างๆเช่น วิตกในพยาบาท
วิตกในกาม วิตกในการเบียดเบียนผู้อื่น ถ้าไม่ตั้งความเพียรเพื่อละสิ่งนี้
มีความเกียจคร้านไม่ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ ไม่มีความเกรงกลัวต่อวิตกเหล่านี้ เกลือกกลั้วกับสิ่งเหล่านี้เป็นประจำ
ก็อยากที่ละจะหลุดจากกาม พยาบาท การเบียดเบียนทั้งปวง เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับผู้ปฎิบัตินี้จะเป็น
ศีล สมาธิ หรือ ปัญญาในอีกนัยหนึ่งความเพียรชอบนี้ก็จะไม่แตกต่างออกไปแต่ความสำคัญต้องปฏิบัติต่อเนื่องตลอดเวลาที่ตื่น
จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=306&Z=346 |
ความเพียรเพื่อจะละจะออกจากวิตกเหล่านี้แม้ปฎิบัติงานใดๆอยู่
ในสภาวะเดินยืนนั่งนอนก็จะยังคงทำอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้นอยู่สม่ำเสมอ กิเลส
ความยึดมั่นถือมั่นนิสัยสันดานเดิมที่หมักหมมอยู่ก็จะละจะคลายออก
สิ่งนี้จึงเป็นความเพียรชอบที่ต้องทำความเข้าใจ หลายสิ่งหลายวิธีที่ผู้ปฎิบัติเฝ้าเพ่งเฝ้าติดตามอยู่ลองดูพิจารณาดูว่าเป็นการตั้งความเพียรในการละวิตกต่างๆหรือไม่หรือกลายเป็นการตั้งความหวังว่าเมื่อเพ่งสิ่งนี้อยู่แล้วทุกข์จะไม่เกิด
แต่ตัวตนยังคอยอยู่เพื่อรับทุกข์เป็นวิตกในทางเบียดเบียนตนเองเป็นหลัก
ท้ายสุดก็ไม่ได้ละวางอะไรออกไปจากใจเลยกลับสร้างตัวตนเพิ่มติดเป็น ทิฐิ มานะไปต่อความทุกข์ก็ซ่อนรออยู่อย่างนั้นมองไม่เห็นความเป็นจริงไม่เกิดปัญญาใดๆ
ความเพียรชอบนี้เมื่อเข้าใจแล้วในนาทีแรกที่สำนึกละวางวิตกออกไปได้อย่างเหมาะสมความทุกข์ความหนักทั้งหลายจะหายไปตอนนั้นเองเลยไม่ต้องรออะไรอีก
ที่นี้ก็เหลือแต่ค่อยๆทำไปสังเกตละวางไปจนถอนรากถอนโคนความหมักหมมที่เพียรมาผิดตลอดที่ผ่านมา
ละความทุกข์ออกไปไม่กลับมาอีกในที่สุด เมื่อความเพียรชอบแล้วตนเองนั่นแหละจะรู้เอง
ความโกรธ ความโลภ ความหลง ลดลงหรือไม่ในแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี บอกตัวเองได้
พอละวิตกก็เห็นทุกข์หายไปทุกครั้งทันทีเลย เห็นไหม ลองดูไหม
@นั่งเก้าอี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น