ภาษา ธรรม คน แปล


นอกจากคำสอนในพทธศาสนาจะมีความเฉพาะเจาะจงแล้ว การเรียงลำดับก่อนหลัง ก็มีความสำคัญ เช่น มรรค8 ทำไม ต้องเริ่มที่สัมมาทิฐฐิ หรือ อริยสัจ 4 ทำไมนิโรธถึงถูกพูดถึงก่อนมรรค ที่จริงอาจจะไม่สำคัญอะไร อย่างที่คุยกันว่าถึงรู้ว่าทำไมแต่แก้ทุกข์ไม่ได้ก็ไม่ควรไปเสียเวลา


สิ่งที่ดูจะยากขึ้นไปอีกสำหรับภาษาไทย ซึ่งชาวบ้านใช้คำศัพท์บางตัวซ้ำกับทางธรรมะหรือในพระไตรปิฎกแต่ความหมายผิดกันไปมาก การให้คำจำกัดความที่แตกต่างกันจะทำให้ความเข้าใจแตกต่างออกไปมากและบางทีก็ผิดความหมายไปเลย

หลายคำที่ใช้กันบ่อยแต่ความหมาย แตกต่างกัน ทีเดียวในภาษาคน และ ภาษาธรรม ยกตัวอย่างเช่นคำต่างๆต่อไปนี้

ทุกข์  ภาวนา สติ ชาติ ภพ ตัญหา เดียรฉาน สัตว์ บุคคล มนุษย์ โลก จุติ เกิด อารมณ์ กรรม วิบาก 

คำต่างๆเหล่านี้บางทีก็ใกล้เคียงกันบ้างทีตรงข้ามกันไปเลย หรือเกิดก่อนหรือหลัง หรือตีความหมายได้กว้างกว่ากันมาก 

จำได้ว่าเคยมีเพื่อนที่ทำงานถามว่าทำบุญบ่อยๆหรือเปล่า เราตอบว่าชอบภาวนามากกว่า เพื่อนคนนั้นมองหน้าในเชิงตั้งคำถามว่ามัวแต่ภาวนาขอพร หรืออธิษฐานอะไรทำนองนั้น มากกว่าจะเข้าใจว่าเราชอบในการเจริญสติภาวนา



@นั่งเก้าอี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น