ศีล 5



รื่องศีลเป็นเรื่องของพระ น่าจะเป็นความคิดแรกแรกที่เข้ามาเมื่อคนในปัจจุบันพูดถึง  ศีล5เป็นเรื่องที่พระมักจะชักชวนให้ชาวบ้าน รับเอาไปปฏิบัติ ด้วยความเชื่อมั่นว่าถ้าคนทุกคนมีศีล 5 อยู่เป็นปกติ ส่วนตน ส่วนรวม สังคม จะสงบสุข  เวลาจัดงานบุญต่างๆรวมถึงการถวายสังฆทานก็จะมีเรื่องการสมาทานศีล 5 เสมอ พระสงฆ์ ให้ความสำคัญของศีลมากเพราะเป็นฐานเริ่มต้นของการเจริญ ไปสู่ สมาธิ และ ปัญญา สิ่งที่จะแบ่งระหว่างชาวบ้าน พระ เณร ชี ก็แบ่งด้วยจำนวนศีลที่แตกต่างกันออกไป
ศีลดูจะเป็นเรื่องทีพัวพันกับ ชาวบ้านอย่างเราๆ มากกว่าที่เราคิด แม้แต่ศาสนาที่แตกต่างกันก็ด้วยศีลที่แตกต่าง เนื่องด้วยการให้ความสำคัญของศีลแต่ละข้อที่ต่างความหมายออกไป
ด้วยการแจกแจงจิตได้ละเอียดลึกซึ้งมากที่สุดโลกของพระพุทธเจ้า คงไม่มีใครแจกแจงให้ชัดเจนไปได้มากกว่านี้ หัวข้อเรื่องศีลจึงมีความละเอียดมากมายหลายข้อห้ามที่ป้องกันกิเลสดำมืดของมนุษย์ที่สามาร
เถจะเป็นได้  พระในอดีตบางรูปถึงกับจะสึกเพราะท้อในการพยายามที่จะรักษาศีลไว้อย่างยิ่งยวด จนท้ายสุดพระพุทธเจ้าจึงแนะให้ดูจิต ดูใจไว้ก็พอ เพราะกิเลสทั้งหลายเกิดที่ใจที่เดียวถ้ารักษาใจไว้ได้ศีลทั้งหลายก็จะรักษาไว้ได้เช่นกัน

“ศีล 5 เป็นเครื่องหมายของคนดี” คำพูดแบบดาดๆนี้บ้างทีก็ผ่านไปเลย ดูไม่สำคัญอะไร แต่เมื่อวัยหนึ่งที่แสวงหาความหมายของการมีชีวิต ช่วงเวลาหาหลักธรรมที่จะยึดมั่นในการดำรงชีวิต บ้างทีก็หลงทางจากการเรียนรู้ปรัชญาโบราณ หรือในศาสนาอื่น หรือจากนักปราชญ์ที่ชาวโลกเชื่อถือในยุดสมัยต่างๆ บ้างคนถึงกับเชื่อว่าความดีความชั่วเป็นเรื่องที่คนคิดเอง เหมือนกันกับเรื่อง ยาวหรือสั้น ถ้าไม่เอามาเปรียบเทียบกันก็ จะบอกไม่ได้ว่ายาวหรือสั้น คนเราถ้าไม่เปรียบเทียบกันกันจะไม่รู้ว่าใครเป็นคนดีกว่าใคร เรื่องนี้ทำให้เผลอเหลวไหลไปจนเกิดเชื่อว่าดีชั่วไม่มี คิดกันไปเอง เป็นมิจฉาทิฐิกันไป  ในพุทธศาสนา ศีล 5 ยังเป็นการยืนยันว่าเป็นคนดี เป็นมนุษย์ จะมีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์อีกในชาติต่อไปและพัฒนาตนเองจนไปสู่นิพพาน จากความเป็นมนุษย์เท่านั้นสัตว์อื่นทำไม่ได้ มีค่ามากที่เราจะใช่แยกแยะคนดีคนชั่ว คนทีควรคบหา คนที่จะแต่งงาน คนที่จะทำธุรกิจ หรือคนที่ควรออกห่างให้เร็วที่สุดด้วย เพียงศีล5เท่านี้ก็ใช้เป็นตะเกียงส่องนำชีวิตได้ และยังแนะนำบอกกล่าวผู้ที่หลงทาง โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นตรงนี้ได้

ชาวพุทธจำศีลทั้ง5ข้อได้ขึ้นใจ ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมียเขา ห้ามพูดปด ห้ามดื่มสุรา  ศาสนาอื่นก็มีศีลเหล่านี้เช่นกัน ศีลข้อเหล่านี้จึงเป็นสากลที่จะบอกว่าใครเป็นคนดี หรือคนชั่ว
ผู้เขียนเองก็พอจะนึกได้ว่าถ้าจะเขียนเรื่องนี้คงน่าเบื่อหาอะไรใหม่มาเขียนได้ยาก แต่ก็อยากจะเขียนและทำความเข้าใจจริงๆว่าภาษาบาลีที่ บอกว่า “ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ” แปลได้ สั้นๆนิดเดียว ว่า “ห้ามฆ่าสัตว์” เท่านั้นหรือ? ทำไมสั้นมากขนาดนี้?
โดยความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนพระไตรปิฎกถูกเขียนขึ้นจากความจำได้ถึงคำกล่าวของพระพุทธเจ้าซึ่งมีความชัดเจนเฉพาะเจาะจงเหมือนกฎด้านฟิสิกส์ที่เป็นสากลใช้ได้ในทุกกาล เมื่อตรัสออกไปแล้วก็จะเป็นจริงเสมอไม่คลอนแคลน นักปราชญ์ทั้งหลายถอนหรือง้างสิ่งที่ตรัสแล้วไม่ได้ ไม่ใช่เป็นเพียงหลักปรัชญาลอยๆ หรือเหมือนคำถามเปิดที่ปล่อยให้คิดได้ไปในหลายแง่มุม

ผู้เขียนเองไม่ได้มีความรู้เรื่องภาษาบาลีพอที่จะยืนยันว่าคำแปลต่อไปนี้เป็นคำแปลที่ถูกต้องแน่นอน หลังจากค้นในแหล่งความรู้ต่างๆก็พบว่าคำแปลที่ตนเองพอใจและเชื่อว่าน่าจะเป็นความหมายที่ควรนำไปพิจารณาต่อได้ว่าจริงหรือไม่ที่ศาสนาพุทธเป็นเหมือนการชี้ทางไม่ใช่การบังคับ การห้าม การลงโทษ เพราะทุกคนล้วนมีกรรมเป็นของตัวเอง ตัวเองจะทำดี ทำชั่ว ผล หรือ วิบากนั้นก็จะติดตามผู้นั้นไป ดังนั้นจึงขอให้ผู้อ่านโปรดอย่าเชื่อในการแปลของผู้เขียนนี้ ขอให้เป็นเพียงเพื่อการศึกษาและพิจารณาเพื่อเจริญปัญญาต่อไป

คำแปลในภาษาบาลีคงจะแปลกลับหลังจากการพูดในภาษาไทยปกติ
เริ่มแปลจะคำหลังสุด “มิ” แปลว่า ตัวฉัน
“สมาทิยา” แปลว่า รับเอาไป หรือ ขอสมาทาน
สิกฺขาปทํ” แปลว่า สิกขาบท หรือ บทศึกษา
“เวรมณี” แปลว่า เจตนาเป็นเครื่องเว้น หรือ ปกติเว้น หรือ งดเว้น
ถ้าแปลรวมมาถึงตรงนี้ ก็น่าจะแปลได้ว่า ตัวฉันขอรับเอาบทศึกษาที่ว่าเจตนางดเว้น….
ผู้เขียนมีความเห็นว่า “การห้าม” กับ “การขอรับเอาไปศึกษา ไปทดลอง ไปปฏิบัติ ในการที่มีเจตนางดเว้น” มีความแตกต่างกันอย่างมาก บ้างความเห็นอาจจะบอกว่าเพื่อให้ง่ายกับการสั่งสอน ด้วยการห้าม แต่ผู้ที่ทำการศึกษาตามที่ควร มีความจำเป็นที่ต้องเข้าใจเรื่องนี้ โดยเฉพาะเมื่อแปลว่ามีเจตนา หรือไม่มีเจตนา จะมีความหมายแตกต่างกันอย่างยิ่ง

เมื่อแปลต่อ ปาณาติปาตา ซึ่งมาจาก ปาณา รวมกับ อติปาตา
“ปาณา” แปลว่า ลมหายใจสัตว์
“อติปาตา” แปลว่า ทำให้ตก ล่วง ตาย
น่าจะ ทำให้ลมหายใจสัตว์ตกล่วงตาย
ผู้เขียนนึกถึงความเฉพาะเจาะจงว่าเป็นสัตว์ทั้งหลายที่หายใจได้ ใช้อากาศในการดำรงชีวิตอยู่ ตามที่เรารู้ด้วยวิทยาการปัจจุบันว่ามีสัตว์อีกหลาย  ชนิดที่ไม่ได้ใช้อากาศในการดำรงชีวิต หรือ แม้ในพระไตรปิฎกก็มี สัตว์หลายอย่างที่ไม่ต้องหายใจ ดังนั้นความหมายจึงเฉพาะเจาะจงที่สัตว์หายใจ เพียงเท่านั้น

เมื่อแปลรวมศีลข้อแรก ทั้งหมดคงจะได้ความหมายว่า
ตัวฉันขอรับเอาบทศึกษาที่ว่าเจตนางดเว้นทำให้ลมหายใจสัตว์ตกล่วงตาย
  
ผู้เขียนคงเป็นคนคิดมากเรื่องคำแปลไปเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น